โดย www.thaiwarrant.com --
เจนวิทย์
ชินกุลกิจนิวัฒน์
กรรมการผู้จัดการ
ฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บล.เคจีไอ
จากการที่ทางตลาดหลักทรัพย์ได้มีการเตรียมทบทวนหลักเกณฑ์การคำนวณดัชนีในตลาดหุ้นไทยนั้นซึ่งน่าจะรวมถึงดัชนี
SET50 ด้วยจากเดิมที่เป็นแบบ Full Market Capitalization เป็นแบบ
Free Float Adjusted Market Capitalization ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนน้ำหนักหุ้นขนาดใหญ่ใน
SET50 นั้นมีมากน้อยขนาดไหนยังไม่ชัดเจนมาก อาจจะต้องรอข้อมูลจากทางตลาดหลักทรัพย์ที่ชัดเจนก่อนที่จะสรุปได้
แต่เราสามารถศึกษาหลักการคร่าวๆผ่านดัชนีหุ้นไทยที่จัดทำโดยสถาบันจัดทำดัชนีระดับสากล และเป็นที่นิยมใช้อ้างอิงกันสำหรับนักลงทุนต่างประเทศนั่นก็คือ
MSCI Thailand
ดัชนี
MSCI Thailand ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆและคอยติดตามกันว่าหุ้นไทยตัวไหนถูกปรับเข้าและปรับออก
และตามมาด้วยการเก็งกำไรของหุ้นตัวนั้นๆ ดัชนี MSCI Thailand เป็นดัชนีที่สะท้อนหุ้นขนาดใหญ่ในไทยเทียบเคียงกับดัชนี
SET50 แต่ต่างกันที่ MSCI Thailand ใช้หลักการ
Free Float Adjusted Market Cap มาคำนวณถ่วงน้ำหนักด้วย
ทำให้หุ้นบางตัวที่ถึงแม้จะมีขนาดมาร์เกตแคปที่ใหญ่แต่ถ้ามี Free Float น้อยก็จะมีน้ำหนักต่อดัชนีลดลง
ในรูปจะแสดงอันดับหุ้น 10 ตัวแรกเรียงตามน้ำหนักในดัชนี MSCI
Thailand เปรียบเทียบกับดัชนี SET50
ที่มีการถ่วงน้ำหนักด้วยมาร์เกตแคปเท่านั้น สังเกตว่าเมื่อนำ Free Float เข้ามาคิดทำให้อันดับของหุ้นขนาดใหญ่ในดัชนีทั้ง 2 ต่างกันค่อนข้างมาก
ยกตัวอย่างเช่น หุ้นอันดับ 2 ของ MSCI Thailand เป็น CPALL
ขณะที่หุ้นอันดับ 2 ของ SET50 เป็น AOT
ส่วนหุ้น DELTA ที่นักลงทุนพูดถึงกันเยอะก็จะมีอันดับที่แตกต่างกันค่อนข้างมากใน
2 ดัชนี

ที่มา : set.or.th
การนำ Free-Float Adjusted มาใช้ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าดีกว่า Full Market Cap ที่ใช้กับ SET50 ในปัจจุบัน เพราะข้อดีที่สำคัญของ SET50 คือสามารถสะท้อนหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นไทยได้อย่างแท้จริงมากกว่า ดังนั้นไม่ว่าใช้วิธีไหนก็แล้วแต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างถี่ถ้วนและหาหลักเกณฑ์ที่สมดุลของข้อดีข้อเสียของทั้ง 2 แบบ